อันนี้ผมไปเจอบทความดี ๆ จากโพสต์ Facebook ของอาจารย์ จิตเกษม จัลวรรณา เลยเอามาแชร์กันก่อนที่บทความจะโดนทับถมไปตามกาลเวลาครับ
ขี่ ร ถ ใ ห ญ่ _ ท ำ ไ ม เ ร า ถึ ง ล้ ม ง่ า ย จั ง
* เพราะรถมันใหญ่ ❌
* เพราะรถมันหนัก ❌
จริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย ….!
* เพราะรถมันสูง ✔️
✔️ ใช่ครับ ✔️
สาเหตุที่เราล้มกันบ่อย ๆ ง่าย ๆ โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวหรือกลับรถ หรือเคลื่อนรถไปช้า ๆ ไม่ได้เกิดจากรถใหญ่หรือหนักแต่อย่างใด แต่มันคือความสูงของรถ และเบาะนั่งต่างหาก (หรือรถสูงปรกติ แต่คนตัวเล็กนั่นเอง) เนื่องจากความสูงของเบาะ ทำให้ฐานล่างของเรา(ขา) ค้ำยันพื้นได้ไม่มั่นคง หรือถ่างขาได้ไม่มากพอทำให้ไม่มีแรงในการค่ำยันรถนั่นเอง ฟังแล้วหลายคนอาจจะค้านว่ารถหนักน่าจะมีส่วนทำให้ล้มได้ง่ายมากกว่า(ไม่ใช่เลยครับ) งั้นเรามาฟังตรงนี้กัน
เรามักจะเห็นรถอเมริกันคันใหญ่ ๆ หนัก ๆ อย่างเช่น Harley Davidson พวกตระกูล Road King / Electra Glide / Road Gide / Heritage / Fadboy หรือ Indian อะไรก็แล้วแต่ ที่มีน้ำหนัก 400 kg. ++ เขาล้มง่าย ๆ บ่อย ๆ กันแบบรถ BMW GS / T7 / Africa twin / Multi Enduro บ้างมั๊ย? ก็ไม่นะครับ ทั้ง ๆ ที่ H-D หนักกว่าเกือบ 2 เท่าในบางคันด้วยซ้ำ(ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ผอม ๆ ยังขี่ H-D ไม่ล้มได้ง่าย ๆ เหมือนผู้ชายขี่รถเหล่านั้นเลย)
Honda Gold Wing หรือพวกรถ Grand Touring ต่างๆก็ตาม เข่น BMW K1600 GT / R1250 RT / Yamaha XJR1300 / Kawasaki GTR1400 พวกรถเหล่านี้หนักเฉียด ๆตัวเลข 300kg. ทั้งนั้น แม้แต่คนตัวเล็ก ๆ ขี่ ก็ยังล้มยาก เลย จริงไหม?
กลับกัน มาดูรถเบา ๆ ที่ล้มกันง่าย ๆ บ้าง
รถสูตรวิบาก เช่น KTM Husqvarna Honda Yamaha Kawasaki ฯลฯ รถชนิดนี้เบามาก ยิ่งแพงยิ่งเบา น้ำหนักประมาณ 100-107 kg. แต่กลับล้มง่ายมาก เพราะเบาะสูงปรี๊ดนั่นเอง ทำให้ฐานค้ำเราแคบ (รถโมโตครอสก็เช่นกัน สูงกว่ามาก แต่เขาไม่ค่อยล้มกันเพราะเน้นขี่แข่งด้วยการใช้ความเร็วตลอดแทรค รถจึงมีการพยุงตัวของมันอยู่ในตัวตลอดเวลา) บวกกับนักแข่งโมโตครอสจะมีทักษะที่ต่างจากคนทั่วไปมาก และมีความพร้อมทุกด้าน เรื่องเหล่านี้จึงไม่ใข่ปัญหาหลักของเขาเลย
รถวิบากทั่วไป หรือที่เรียกว่ารถวิบาก Production เช่น CRF 250 300 450 / KLX 250 (รุ่นที่เบาะสูง ๆ ทั้งหลาย) น้ำหนักก็เพียงแค่ 130-140 kg. แต่ขี่กลับยูเทินบนทางดำเรียบๆให้เสียจังหวะยังล้มง่าย ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่รถเบากว่า H-D ถึงเกือบ 3 เท่า
คราวนี้มาดูที่จักรยานปั่นหรือจักรยานประเภทกีฬากันบ้าง
จักรยาน น้ำหนักเพียง 20-30 kg. แน่นอน รถเบา ๆ อย่างนี้ล้มยากแน่ ๆ “ผิดครับ” ถ้าเมื่อมาดูฝั่งจักรยานเสือหมอบ (จักรยานความเร็ว) น้ำหนักมีเพียงแค่ 10 กว่ากิโลเท่านั้นเอง เรียกว่ายิ่งเบายิ่งแพง ไล่เบากันกิโลละเป็นแสน รถประเภทนี้เอานิ้วมือยกนิ้วเดียวก็ยกขึ้นแล้วด้วยซ้ำ (คุยกันอย่างนั้นเลย) รถประเภทนี้ “เบาะสูงปรี๊ดดด” แต่กลับล้มง่าย “จริงมั๊ย?” เชื่อว่านักปั่นจักรยานประเภทนี้ เจอเหตุการณ์นี้กันมาแล้วทุกคน ถึงขั้นต้องฝึกปลดคลีทล๊อคเพื่อแลนดิ้งลงพื้นกันเลย (ใครๆก็ไม่อยากล้มเพราะรถมันแพง) นั่นเพราะว่า สูงจนเขย่ง ฐานค้ำเราจึงแคบมากนั่นเอง (คือเบาะสูงจนไม่สามารถถ่างขาออกเพื่อยันรถที่มีน้ำหนักเพียง 10 กว่ากิโลกรัม ได้ด้วยซ้ำ)
ทั้งหมดนี้เราพูดถึงคือ รถทุกชนิดที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำถึงต่ำมาก ๆ (จะด้วยเพราะอะไรก็ตาม) เราต้องการการค้ำยันที่มั่นคงหากเกิดเหตุการณ์จำเป็นที่จะต้องเอาเท้าแลนดิ้งลงพื้นในเวลาฉุกเฉิน แต่ในเมื่อรถคันนั้นมีเบาะที่สูงเกินการค้ำยัน นั่นหมายความว่าท่านต้องนำเอา Skill Balance มาแลก “ยิ่งเบาะสูงมาก ยิ่งต้องแลกมาก” เรื่องแบบนี้ ใครไม่ตัวเล็กหรือขาสั้น จะไม่มีทางเข้าใจฟิลลิ่งนั้นเลย ไม่เชื่อ…คุณลองหาอะไรหนุนเบาะรองก้นให้สูงจนเท้าแตะพื้นไม่ถึง คุณจะขี่รถเปลี่ยนเป็นคนละคนเลยทันที “เพราะขาคุณจะสั่นนั่นเอง 555 ฝรั่งฝั่งยุโรปที่ตัวสูงๆ 185 cm.+ (สำหรับเขาไม่มีคำว่ารถ Big bike / แต่ถ้าเป็นรถฮอนด้าเวฟบ้านเรา เขาเรียก Minibike / ส่วน Minibike สำหรับเราคนเอเชีย ก็คือรถป๊อป 50 cc โน้นเลย 555) ทุกอย่างมันมีสัดส่วนของมัน อะไรที่เกินตัว เมื่อมีต้นทุนทางสรีระที่ต่างกัน ก็ต้องเอาความสามาถเข้ามาหักล้างกัน! นั่นเป็นเรื่องจริง!
ฝากบทสนทนานี้ไว้
ก า ร ห า ส ม ดุ ล ย์ ห รื อ B a l a n c e จึ ง ส ำ คั ญ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถหรือเรื่องอะไรก็ตาม