Category: Story of life

  • MBTI ของเราเปลี่ยนอีกละ…

    MBTI ของเราเปลี่ยนอีกละ…

    เปลี่ยนอีกละ MBTI ของเรา เปลี่ยนจาก ENFJ-T (ตัวเอก) เป็น ENFP-T (นักรณรงค์) ตามสภาพสถานการณ์จังหวะชีวิต

    ถามจริงไหม?

    ตั้งแต่เริ่มทำ Business Developer Manager ที่คิวบิกครีเอทีฟ แล้วมาทำ Financial Advisor ที่ AIA เจอลูกค้า+เด็กเยอะมาก ทำให้เรารับรู้ปัญหาทางสังคมที่เชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้ช่วงหลังมา เราขุดลึกเข้าไปอีก ด้วยการทำงานเกี่ยวกับที่ปรึกษาธุรกิจด้วย เข้าไป empathy ตัวธุรกิจ แล้วด้วยความเป็นตัวเอก ทำให้เราซึมซับอารมณ์ขุดลึกลง ด้วยการที่เราต้องการให้ “โอกาส” เขากลับมายืนได้อีกครั้งนึง แต่ก็อย่างว่าครับ ผมขาดทุนทรัพย์ที่จะสนับสนุนความคิดของผมให้ผมไปต่อ

    ทุกวันนี้ ทำ Piniya พินิยา ถึงแม้ยอดขายจะเล็กน้อยมาก ๆ แต่ก็ช่วยให้ธุรกิจที่เราสนับสนุนพอไปต่อได้ ดังนั้น #พินิยา ไม่ได้ทำเพื่อความร่ำรวย แต่ทำเพื่อเป็นช่องทางที่ทำให้ #วิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม มี “โอกาส” ที่จะไปต่อเมื่อเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปช่องทางทางธุรกิจ เพราะอะไร? เพราะ ผมมองว่า เมื่อมีใครสักคนซื้อสินค้าของเรา เงินสามารถกระจายสู่ระบบเศรษฐกิจต่างจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ระบบเศรษฐกิจในต่างจังหวัดดีขึ้น และเมื่อระบบเศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนกินอิ่ม นอนหลับ มีเงินเก็บ เขาก็สามารถที่จะซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และวางแผนเพื่อการเกษียณได้ต่อไป บางที่ผมอาจจะคิดใหญ่ไป คิดเยอะไป แต่ผมก็กำลังทำอยู่ และทำต่อไป มีทุนน้อย ก็ไปช้าหน่อย มีทุนมากก็ไปเร็วหน่อย ตามมีตามเกิดครับ

    จึงเขียนไว้เป็นอนุสรณ์

  • แดน กับโรงงานเซรามิกของครอบครัว

    แดน กับโรงงานเซรามิกของครอบครัว

    โรงงาน เอส พี เซรามิค

    ก่อร่างสร้างตัว

    แดนเกิดเป็นลูกคนโตของคุณพ่อชื่อ พินิจ ศิริวัฒนกุล คุณพ่อหลังจากเรียนจบคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ตามคุณปู่ นายเผชิญ ศิริวัฒนกุล ขึ้นมาซึ่งตอนนั้นคุณปู่ขึ้นมาทำเหมืองแร่ดินขาวในอำเภองาวในช่วงปี 2530 ด้วยความที่คุณพ่อสังเกตเห็นว่า ตลาดเซรามิกในตอนนั้น มีแต่โรงงานที่ทำจานเซรามิก Tableware, Dinnerware และเป็นแนว Blue and White ทั้งนั้น

    Blue and White Ceramic Coaster
    พิธีลงเสาเอกของโรงงาน
    โรงงานหลังแรกของโรงงาน เอส พี เซรามิค

    คุณพ่อจึงมีความคิดว่า แล้วทำไมเราไม่ทำอย่างอื่นที่มันแปลกต่าง ๆ จากที่มีในตลาดปัจจุบันละ? คุณพ่อจึงริเริ่มก่อสร้าง โรงงาน เอส พี เซรามิค ขึ้นมา

    วิกฤตต้มยำกุ้ง

    ในช่วงวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง ประเทศไทยก็ได้มีการลอยตัวค่าเงินบาทขึ้น ทำให้เราได้มีโอกาสในการส่งออกที่มากขึ้น มีลูกค้าแบรนด์ใหญ่ ๆ ระดับโลกมากมายเข้ามาติดต่อเราเพื่อต้องการจ้างให้เราผลิตผลิตภัณฑ์ให้เขาส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ฮ่องกง และออสเตรเลีย ซึ่งเราก็เพลิดเพลินกับการรับจ้างผลิตอย่างมาก กิจการขยายตัวเป็นอย่างมาก แปลงสภาพจากโรงงานเป็น บริษัท เอส พี เซรามิค ค็อลเลคชั่น จำกัด แต่แล้วงานเลี้ยงย่อมต้องมีวันเลิกลา…

    พลิกฟื้นและก้าวต่อไป…ด้วยกัน

    หลังจากที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ในเพื่อวางแผนเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตแล้ว เรายังไม่หยุดเรียนรู้ที่จะสร้างพันธมิตรทางการค้า และการผลิตที่มีอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตทางธุรกิจในท้องถิ่นของเราที่เราอยู่ต่อไป

  • [บันทึกนักขี่] เล่นเตะกรวย กับ Slow Balance

    [บันทึกนักขี่] เล่นเตะกรวย กับ Slow Balance

    ถ้าหากเป็นการ Challenge เพื่อหวังผลฯ เช่นแข่งขันกันเล่นๆ นั่นหมายความว่าต้องการความแม่นและชัวร์มากขึ้น ในแต่ละกรวย

    หากเราเอาเท้าออกจากพื้นบอร์ดรถสกุ๊ตเตอร์หรือรถอะไรก็แล้วแต่ ยิ่งรถสกุ๊ตเตอร์ยิ่งต้องถ่างขากว้างออกเยอะ ก็เหมือนกับรถ GS ที่ต้องถ่างขาหนีหัวเครื่องบ๊อกเซอร์….. เมื่อเราต้องยกเท้าออกจากการวางที่พักเท้าหรือพื้นบอร์ดพร้อมกับการวาดเท้าออกไปเขี่ยกรวย มักจะเกิดอาการเสียบาลานซ์ไปบ้างเล็กน้อย บางคนเสียบาลานซ์ในจังหวะนี้เยอะเลยจนเซ ทำให้เกิดความไม่แม่นยำ ตามที่บอกว่าถ้าการทำเพื่อหวังผลลัพธ์ Challenge แล้วต้องการความแม่นนำ เราต้องเอาเท้าออกมารอซักระยะเวลาหนึ่งจนบาลานซ์นิ่ง เมื่อนิ่งแล้วเวลาเขียก็จะเสียบาลานซ์น้อยกว่าการทำทุกขั้นตอนพร้อมกันในเวลาเดียวกัน…….. มันเปรียบสเหมือนการแต่งตัวก่อนเข้าโค้ง / การมองโค้งไกล มองล่วงหน้า ประมาณนั้นครับ หรือเหมือนกับการขี่รถเอามือไปหยิบของ ถ้าเราปล่อยมือพร้อมกับรีบไปหยิบของเลย มันจะเซ แต่ถ้าเราปล่อยมือรอไว้แล้ว ก็จะหยิบง่าย (หลักการมันเหมือนกัน)

    อันนี้เป็นทริคอีกขั้นนึงแล้วครับ เอาไว้เล่นสนุกๆครับ 555

  • [บันทึกนักขี่] ขี่รถใหญ่ ทำไมเราถึงล้มง่ายจัง?

    [บันทึกนักขี่] ขี่รถใหญ่ ทำไมเราถึงล้มง่ายจัง?

    อันนี้ผมไปเจอบทความดี ๆ จากโพสต์ Facebook ของอาจารย์ จิตเกษม จัลวรรณา เลยเอามาแชร์กันก่อนที่บทความจะโดนทับถมไปตามกาลเวลาครับ

    ขี่ ร ถ ใ ห ญ่ _ ท ำ ไ ม เ ร า ถึ ง ล้ ม ง่ า ย จั ง

    * เพราะรถมันใหญ่ ❌

    * เพราะรถมันหนัก ❌

    จริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย ….!

    * เพราะรถมันสูง ✔️

    ✔️ ใช่ครับ ✔️

    สาเหตุที่เราล้มกันบ่อย ๆ ง่าย ๆ โดยเฉพาะเวลาเลี้ยวหรือกลับรถ หรือเคลื่อนรถไปช้า ๆ ไม่ได้เกิดจากรถใหญ่หรือหนักแต่อย่างใด แต่มันคือความสูงของรถ และเบาะนั่งต่างหาก (หรือรถสูงปรกติ แต่คนตัวเล็กนั่นเอง) เนื่องจากความสูงของเบาะ ทำให้ฐานล่างของเรา(ขา) ค้ำยันพื้นได้ไม่มั่นคง หรือถ่างขาได้ไม่มากพอทำให้ไม่มีแรงในการค่ำยันรถนั่นเอง ฟังแล้วหลายคนอาจจะค้านว่ารถหนักน่าจะมีส่วนทำให้ล้มได้ง่ายมากกว่า(ไม่ใช่เลยครับ) งั้นเรามาฟังตรงนี้กัน

    เรามักจะเห็นรถอเมริกันคันใหญ่ ๆ หนัก ๆ อย่างเช่น Harley Davidson พวกตระกูล Road King / Electra Glide / Road Gide / Heritage / Fadboy หรือ Indian อะไรก็แล้วแต่ ที่มีน้ำหนัก 400 kg. ++ เขาล้มง่าย ๆ บ่อย ๆ กันแบบรถ BMW GS / T7 / Africa twin / Multi Enduro บ้างมั๊ย? ก็ไม่นะครับ ทั้ง ๆ ที่ H-D หนักกว่าเกือบ 2 เท่าในบางคันด้วยซ้ำ(ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ผอม ๆ ยังขี่ H-D ไม่ล้มได้ง่าย ๆ เหมือนผู้ชายขี่รถเหล่านั้นเลย)

    Honda Gold Wing หรือพวกรถ Grand Touring ต่างๆก็ตาม เข่น BMW K1600 GT / R1250 RT / Yamaha XJR1300 / Kawasaki GTR1400 พวกรถเหล่านี้หนักเฉียด ๆตัวเลข 300kg. ทั้งนั้น แม้แต่คนตัวเล็ก ๆ ขี่ ก็ยังล้มยาก เลย จริงไหม?

    กลับกัน มาดูรถเบา ๆ ที่ล้มกันง่าย ๆ บ้าง

    รถสูตรวิบาก เช่น KTM Husqvarna Honda Yamaha Kawasaki ฯลฯ รถชนิดนี้เบามาก ยิ่งแพงยิ่งเบา น้ำหนักประมาณ 100-107 kg. แต่กลับล้มง่ายมาก เพราะเบาะสูงปรี๊ดนั่นเอง ทำให้ฐานค้ำเราแคบ (รถโมโตครอสก็เช่นกัน สูงกว่ามาก แต่เขาไม่ค่อยล้มกันเพราะเน้นขี่แข่งด้วยการใช้ความเร็วตลอดแทรค รถจึงมีการพยุงตัวของมันอยู่ในตัวตลอดเวลา) บวกกับนักแข่งโมโตครอสจะมีทักษะที่ต่างจากคนทั่วไปมาก และมีความพร้อมทุกด้าน เรื่องเหล่านี้จึงไม่ใข่ปัญหาหลักของเขาเลย

    รถวิบากทั่วไป หรือที่เรียกว่ารถวิบาก Production เช่น CRF 250 300 450 / KLX 250 (รุ่นที่เบาะสูง ๆ ทั้งหลาย) น้ำหนักก็เพียงแค่ 130-140 kg. แต่ขี่กลับยูเทินบนทางดำเรียบๆให้เสียจังหวะยังล้มง่าย ๆ เลย ทั้ง ๆ ที่รถเบากว่า H-D ถึงเกือบ 3 เท่า

    คราวนี้มาดูที่จักรยานปั่นหรือจักรยานประเภทกีฬากันบ้าง

    จักรยาน น้ำหนักเพียง 20-30 kg. แน่นอน รถเบา ๆ อย่างนี้ล้มยากแน่ ๆ “ผิดครับ” ถ้าเมื่อมาดูฝั่งจักรยานเสือหมอบ (จักรยานความเร็ว) น้ำหนักมีเพียงแค่ 10 กว่ากิโลเท่านั้นเอง เรียกว่ายิ่งเบายิ่งแพง ไล่เบากันกิโลละเป็นแสน รถประเภทนี้เอานิ้วมือยกนิ้วเดียวก็ยกขึ้นแล้วด้วยซ้ำ (คุยกันอย่างนั้นเลย) รถประเภทนี้ “เบาะสูงปรี๊ดดด” แต่กลับล้มง่าย “จริงมั๊ย?” เชื่อว่านักปั่นจักรยานประเภทนี้ เจอเหตุการณ์นี้กันมาแล้วทุกคน ถึงขั้นต้องฝึกปลดคลีทล๊อคเพื่อแลนดิ้งลงพื้นกันเลย (ใครๆก็ไม่อยากล้มเพราะรถมันแพง) นั่นเพราะว่า สูงจนเขย่ง ฐานค้ำเราจึงแคบมากนั่นเอง (คือเบาะสูงจนไม่สามารถถ่างขาออกเพื่อยันรถที่มีน้ำหนักเพียง 10 กว่ากิโลกรัม ได้ด้วยซ้ำ)

    ทั้งหมดนี้เราพูดถึงคือ รถทุกชนิดที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำถึงต่ำมาก ๆ (จะด้วยเพราะอะไรก็ตาม) เราต้องการการค้ำยันที่มั่นคงหากเกิดเหตุการณ์จำเป็นที่จะต้องเอาเท้าแลนดิ้งลงพื้นในเวลาฉุกเฉิน แต่ในเมื่อรถคันนั้นมีเบาะที่สูงเกินการค้ำยัน นั่นหมายความว่าท่านต้องนำเอา Skill Balance มาแลก “ยิ่งเบาะสูงมาก ยิ่งต้องแลกมาก” เรื่องแบบนี้ ใครไม่ตัวเล็กหรือขาสั้น จะไม่มีทางเข้าใจฟิลลิ่งนั้นเลย ไม่เชื่อ…คุณลองหาอะไรหนุนเบาะรองก้นให้สูงจนเท้าแตะพื้นไม่ถึง คุณจะขี่รถเปลี่ยนเป็นคนละคนเลยทันที “เพราะขาคุณจะสั่นนั่นเอง 555 ฝรั่งฝั่งยุโรปที่ตัวสูงๆ 185 cm.+ (สำหรับเขาไม่มีคำว่ารถ Big bike / แต่ถ้าเป็นรถฮอนด้าเวฟบ้านเรา เขาเรียก Minibike / ส่วน Minibike สำหรับเราคนเอเชีย ก็คือรถป๊อป 50 cc โน้นเลย 555) ทุกอย่างมันมีสัดส่วนของมัน อะไรที่เกินตัว เมื่อมีต้นทุนทางสรีระที่ต่างกัน ก็ต้องเอาความสามาถเข้ามาหักล้างกัน! นั่นเป็นเรื่องจริง!

    ฝากบทสนทนานี้ไว้

    ก า ร ห า ส ม ดุ ล ย์ ห รื อ B a l a n c e จึ ง ส ำ คั ญ

    ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรถหรือเรื่องอะไรก็ตาม

  • รับมอบ Honda CRF1100L Africa Twin

    รับมอบ Honda CRF1100L Africa Twin

    หลังจากที่จองรถในงาน Thailand Motor Expo 2023 วันที่ 6 ธันวาคม 2566 วันนี้ (วันที่ 16 ธันวาคม 2566) รับรถแล้วครับ ต้องขอบคุณเซลล์ต้อง จากฮอนด้า บิ๊กวิง ธนบุรี และทีมงานที่ช่วยดันจนเรื่องผ่านครับ

    Honda CRF1100L Africa Twin and me

    ทำไมถึงเลือก Honda CRF1100L Africa Twin?

    Honda CRF1100L Africa Twin ต่อไปนี้จะเรียกว่า Africa Twin นะครับ คือ รถที่ออกแบบมาสไตล์ Touring Adventure ซึ่งก่อนหน้านี้ ผมเคยขี่ CBR250R และ CBR500R ซึ่งหลัง ๆ มานี้ก็รู้สึกแก่ขึ้น ไม่ได้ต้องการความแรงเหมือนดั่งเมื่อก่อน ประกอบในยุคโควิด-19 ที่เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ก็เลยเริ่มคิดได้ว่า เราชอบที่จะขี่รถออกไปเที่ยว และอยากจะทำงานที่ไหนก็ได้หรือ Digital Nomad ซึ่ง Africa Twin สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ในราคาที่เป็นมิตร ค่าบำรุงรักษาไม่แรงจนเกินไปเหมือนดั่งคู่แข่งจากเยอรมัน ประกอบกับ Honda Africa Twin มีภาษีที่ดีกว่าตรงซ่อมบำรุงง่าย ซึ่ง Honda เองมีประสบการณ์จากการผ่านการแข่งขันที่ทรมาณทรกรรมนักแข่งและตัวรถรายการ Dakar Rally หรือที่คนไทยเคยรู้จักในนาม Paris -Dakar นั่นเอง ซึ่งเคยมีนักแข่งชาวไทย 2 คน ที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้จนจบ ได้แก่ พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล ในปี ค.ศ. 1992-1995 และมานะ พรศิริเชิด ในปี ค.ศ. 2009 แต่เป็นรายการรถยนต์นะ นั่นแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์อันนำมาสู่ความมั่นใจในแบรนด์ฮอนด้าของผมครับ

    https://www.youtube.com/watch?v=1QuuxBAu2zw

    หากใครสนใจบิ๊กไบค์สามารถติดต่อเซลล์ต้องแห่ง Honda BigWing Thonburi ได้ที่เบอร์ 080 397 2296